การบริการเชิงสนทนา
การบริการลูกค้าที่ยังขาดความเป็นมนุษย์
เจาะลึกเทคโนโลยี

ลูกค้าย่อมไม่ต้องการประสบการณ์บริการที่ให้ความรู้สึกเหมือนไม่มีตัวตน หรือทื่อๆ เหมือนหุ่นยนต์
ลูกค้าอยากได้ปฏิสัมพันธ์ที่เป็นธรรมชาติและเป็นส่วนตัว พวกเขาอยากให้ข้อมูลจากการปฏิสัมพันธ์ครั้งก่อนถูกส่งต่อไปยังการสนทนาในครั้งถัดไป และเช่นเดียวกับความสัมพันธ์อื่นๆ ลูกค้าไม่ชอบที่ต้องบอกซ้ำๆ หรือรู้สึกว่าบริษัทไม่ใส่ใจฟังหรือไม่เรียนรู้จากสิ่งที่ลูกค้าพูด
ธุรกิจต้องก้าวไปไกลกว่าความคิดที่ว่าปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าคือการติดต่อชั่วครั้งชั่วคราวในขณะที่เกิดข้อผิดพลาดแล้วหมดธุระกันไป ลูกค้าได้เชื่อมกับแพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่งทำให้สามารถกลับมาสนทนากันได้อีกในทุกที่ทุกเวลาที่สะดวก ลูกค้าเองก็คาดหวังให้ธุรกิจต่างๆ ทำเช่นเดียวกัน
แต่ถึงแม้หลายบริษัทจะตระหนักถึงความเร่งด่วนในการนำแนวทางเชิงสนทนามาใช้ ส่วนมากกลับใส่ใจเพียงผิวเผินในด้านความเป็นไปได้และสิ่งที่ต้องทำให้สำเร็จ
“มีการสนทนากับลูกค้าที่หลากหลายเกิดขึ้นตลอดเวลา แต่บริบทอันมีค่าเหล่านี้กลับถูกเก็บไว้ในแผนกใดแผนกหนึ่ง ผู้อื่นที่อาจได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้กลับไม่ได้พบเห็น”
MIKE GOZZO รองผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์ของ Zendesk
ทว่า การบริการลูกค้าเชิงสนทนาจะร้อยเรียงแต่ละปฏิสัมพันธ์ให้เป็นการสื่อสารในภาพรวมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องกับลูกค้า เป็นการสื่อสารที่สร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นและเกิดข้อมูลเชิงลึกขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป แม้ไม่ใช่แค่การเพิ่มช่องทางใดช่องทางหนี่งเข้าไป แต่หลายๆ ครั้งมักมีอุปสรรคภายในบางอย่างที่ทำให้บริษัทต่างๆ ไม่สามารถใช้แนวทางเชิงสนทนาได้อย่างเต็มที่
หากไม่มีข้อมูลประกอบจากบริบทเหล่านี้ ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะให้บริการแบบเฉพาะตัว มีส่วนร่วมในการสื่อสารเชิงรุก หรือรับรู้คำแนะนำติชมสำหรับทีมผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์ ยิ่งไปกว่านั้น มีการปฏิบัติต่อลูกค้าราวกับเป็นคนแปลกหน้าในแต่ละครั้งที่ติดต่อมา โดยลูกค้ามากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ตั้งใจว่าจะเลิกติดต่อหลังจากเกิดประสบการณ์ที่ไม่ดีเพียงครั้งเดียว ถึงเวลาทลายกำแพงระหว่างคุณกับลูกค้าแล้ว และเราจะอธิบายว่าต้องทำอย่างไรด้วยข้อมูลเชิงลึกจากลูกค้า เอเจนต์ ผู้นำธุรกิจ และทีมภายในองค์กรของเราเอง
ลูกค้าอยากสนทนา

ข้อมูลในรายงานฉบับนี้มาจากแหล่งข้อมูลสามแหล่ง: แบบสำรวจทั่วโลกตอบโดยผู้บริโภค 3,500 ราย แบบสำรวจทั่วโลกตอบโดยธุรกิจ 4,600 แห่ง และข้อมูลการใช้งานผลิตภัณฑ์ Zendesk Benchmark จากกว่า 97,500 บริษัท
ธุรกิจเสี่ยงจะถูกทิ้งจากการสนทนา
การบริการเชิงสนทนาคืออะไร
แม้การบริการเชิงสนทนาจะเป็นเรื่องใหม่สำหรับธุรกิจส่วนมาก การสนทนาที่ง่ายดายประเภทนี้ได้กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาสำหรับผู้บริโภคแทบจะในทุกแง่มุมของชีวิตประจำวัน "วิธีที่เราพูดคุยกับเพื่อนและครอบครัวของเราเปลี่ยนไป และกำลังเปลี่ยนความคาดหวังของลูกค้าด้วย" Gozzo กล่าว "หากการสนทนาระหว่างบุคคลมีรูปแบบหลากหลายและลื่นไหล การสนทนากับบริษัทก็ควรเป็นเช่นนั้น และนี่คือเป้าหมายในอนาคตของการบริการลูกค้า"
สำหรับลูกค้า การบริการเชิงสนทนาหมายถึงการสนทนาที่เป็นธรรมชาติและลื่นไหลมากขึ้น กับบริษัทที่รู้จักลูกค้าและมีประวัติการติดต่อซื้อขายก่อนหน้านั้น

65% ของบริษัทต่างๆ ต้องการเพิ่มเครื่องมือที่เอื้อให้เอเจนต์ทำงานได้ในหลากหลายช่องทาง
สำหรับบริษัท นั่นหมายถึงการรับรู้ประสบการณ์ลูกค้าทั้งหมด ตั้งแต่การติดต่อกับบริษัทครั้งแรก การเข้าชมเว็บไซต์ แม้กระทั่งการเดินเข้าไปในร้านค้า เช่นเดียวกับประวัติการส่งข้อความ ทุกคำถาม ความคิดเห็น หรือการตอบกลับต่างได้รับการจัดเก็บเพราะเป็นส่วนหนึ่งของการสนทนาโดยรวม วิธีนี้เอื้อให้ธุรกิจต่างๆ ปรับปฏิสัมพันธ์ในอนาคตให้เป็นแบบเฉพาะตัว และเข้าถึงลูกค้าในเชิงรุกเมื่อได้รู้จักลูกค้าดีขึ้น
ลูกค้ามากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์บอกว่าตนเองคาดหวังประสบการณ์เชิงสนทนา อนาคตที่ว่านั้นอาจมาถึงแล้วก็ได้
ผู้บริโภคไม่ต้องการให้ปฏิสัมพันธ์ของตนเป็นเพียงการติดต่อทางธุรกิจ พวกเขาคาดหวังการบริการแบบเฉพาะตัวที่สืบต่อจากการสนทนาที่มีก่อนหน้านั้น หากจะให้ชัดเจนก็คือ
ธุรกิจต่างๆ กำลังตามหลังความคาดหวัง
มีไม่ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าสามารถสนทนาโดยเอื้อให้ลูกค้าตอบเมื่อใดและที่ใดก็ได้ตามสะดวก แม้จะมีความสนใจเพิ่มขึ้นมาก โดยมี 34 เปอร์เซ็นต์ที่ระบุว่ากำลังเพิ่มความสามารถที่จำเป็นมากในการให้บริการเชิงสนทนา แต่ก็มีหลายบริษัทยังไม่ได้เตรียมความพร้อมขั้นพื้นฐานที่จำเป็น เพื่อให้ประสบความสำเร็จ
ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันมีบริษัทเพียง 42 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่สามารถผสานระบบแพลตฟอร์มการบริการลูกค้าของตนกับช่องทางธุรกิจอื่นๆ อย่าง Apple Business Chat, Facebook Messenger หรือ WhatsApp

ธุรกิจส่วนใหญ่ยังไม่ได้มาตรฐาน
ลงทุนในการเปลี่ยนแปลงเพื่อธุรกิจที่ดียิ่งขึ้น
90 เปอร์เซ็นต์ของผู้นำทางธุรกิจและผู้บริหารตระหนักว่าองค์กรของตนจะต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการบริการลูกค้าเชิงสนทนา
ความต้องการของแต่ละธุรกิจย่อมแตกต่างกันไป แต่ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ระบุว่ามีสามเรื่องสำคัญที่ต้องทำการเปลี่ยนแปลง ซึ่งก็คือ:
ความสำเร็จครั้งใหญ่เกิดขึ้นได้จากการพูดคุย
ตอนนี้ไม่ใช่เวลาที่จะทำการเพิ่มเพียงสองสามช่องทาง หรือดำเนินธุรกิจไปตามปกติ
ในเมื่อบริษัทต่างๆ กำลังแข่งขันกันสร้างการบริการลูกค้าที่มีคุณภาพ ย่อมไม่มีใครสามารถนั่งเฉยๆ แล้วปล่อยให้คนอื่นแซงหน้าไป ในการเริ่มนำเสนอประสบการณ์ลูกค้าที่จะผลักดันการเติบโตและสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยืนยาวกับลูกค้า ผู้นำต้องเปลี่ยนหลักคิดและแนวทางของตนใหม่

การสนทนากับลูกค้าเริ่มต้นด้วยการเตรียมเครื่องมือและเทคโนโลยีที่เหมาะสมไว้ให้พร้อม

ประเมินช่องทางที่มีอยู่เดิมเปิดช่องทางใหม่หากจำเป็น และจัดการให้เกิดประสบการณ์ที่เสมอต้นเสมอปลายสำหรับลูกค้า ไม่ว่าลูกค้าเลือกติดต่อด้วยวิธีใด
ใช้แพลตฟอร์มรวมศูนย์ผ่านช่องทางต่างๆ ที่รองรับการสนทนาได้
เมื่อการสนทนาเพิ่มจำนวนขึ้น ใช้ประโยชน์จาก AI หรืองานอัตโนมัติเพื่อช่วยจัดการการสนทนาใหม่ๆ ที่เพิ่มเข้ามา ตอบคำถามต่างๆ นอกเวลาทำการปกติ และคัดกรองคำขอต่างๆ แม้แชทบอทจะตอบคำถามไม่ได้ แต่การทักทายและบอกให้ลูกค้าทราบถึงความพร้อมในการช่วยเหลือนั้นเป็นวิธีที่ดี
องค์กรต่างๆ ยอมรับว่ามีเรื่องที่ต้องจัดการ
นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงด้านเครื่องมือและเทคโนโลยีแล้ว บริษัทต่างๆ ต้องเตรียมพร้อมในการพิจารณาแนวทางปัจจุบันอย่างจริงจัง


Four Seasons ผสมผสานไฮทัชและไฮเทคเพื่อให้เกิดประสบการณ์ดิจิทัลที่สะท้อนความเป็นส่วนตัวได้อย่างไร
ทางด้านขวาเป็นสามคำถามเชิงกลยุทธ์ที่ทุกบริษัทควรนำไปใช้เพื่อช่วยสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าที่แนบแน่นขึ้น
อุปสรรคในการสื่อสาร (ทั้งภายในและภายนอก) มีอะไรบ้าง ที่ขัดขวางไม่ให้ประสบการณ์เชิงสนทนาเป็นธรรมชาติยิ่งขึ้น
ลองนึกถึงการปฏิบัติงานด้านการบริการลูกค้าของคุณในปัจจุบัน คุณจะทำให้ลูกค้ารู้สึกอบอุ่นเป็นกันเองได้อย่างไร แทนที่จะทำให้รู้สึกว่าเป็นแค่คนที่รอคิวอยู่ มีอุปสรรคที่ทำให้เอเจนต์ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นในการให้บริการแบบเฉพาะตัวที่เป็นธรรมชาติหรือไม่ ถ้ามี ไม่ใช่คุณคนเดียวที่มีอุปสรรคนี้ มีเอเจนต์เพียง 29 เปอร์เซนต์เท่านั้นที่ระบุว่าสามารถทำงานร่วมกับทีมที่เหมาะสมได้อย่างมีประสิทธิผลในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าที่แน่นแฟ้นขึ้น
คุณจะทำความรู้จักลูกค้าให้มากขึ้นได้อย่างไร
การทำความรู้จักลูกค้าให้มากขึ้นหมายถึงการหาโอกาสเข้าถึงนอกเหนือจากการให้บริการเมื่อเกิดปัญหาเท่านั้น เมื่อใดที่คุณได้เรียกลูกค้าด้วยชื่อเล่น คุณจะเริ่มเห็นโอกาสในการสร้างประสบการณ์ของลูกค้าให้ดียิ่งกว่าเดิม
คุณจะใช้ความสัมพันธ์ที่ลงลึกกับลูกค้าเหล่านี้ในการส่งเสริมธุรกิจของคุณในส่วนอื่นๆ ได้อย่างไร
ความสัมพันธ์กับลูกค้าที่แน่นแฟ้นขึ้นนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของคุณทั้งหมด โดยการให้ความสำคัญต่อปัญหาที่พบโดยทั่วไปหรือโอกาสในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการต่างๆ ทว่า จะเป็นประโยชน์ก็ต่อเมื่อเข้าถึงคนที่เหมาะสมเท่านั้น จัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลเหล่านี้ในวงกว้าง ไม่ถูกเก็บไว้ในทีมช่วยเหลือและบริการเท่านั้น